เก็บในรูปไกลโคเจน ของ กลูโคส 6-ฟอสเฟต

หากระดับน้ำตาลในเลือดนั้นสูง ร่างกายจะจัดเก็บกลูโคสส่วนเกิน หลังกลูโคสถูกแปลงเป็น G6P แล้ว โมเลกุลของ G6P จะถูกเปลี่ยนเป็น glucose 1-phosphate ด้วยเอนไซม์ phosphoglucomutase ที่ซึ่งจากนั้นจะรวมเข้ากับ uridine triphosphate (UTP) เกิดเป็น UDP-glucose ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการไฮโดรไลซิสของ UTP ซึ่งจะปล่อยฟอสเฟตออกมา จากนั้น UDP-glucose ซึ่งถูกกระตุ้นแล้วจะสามารถเพิ่มเข้าไปยังโมเลกุลไกลโคเจนที่กำลังเติบโตด้วยเอนไซม์ glycogen synthase ทั้งกระบวนการใช้พลังงาน 1 ATP สำหรับการเก็บกลูโคส 1 โมเลกุล และแทบไม่ใช้พลังงานในการนำมันออกมาจากที่เก็บ

เมื่อร่างกายต้องการกลูโคส glycogen phosphorylase โดยมีเอนไซม์ orthophosphate ช่วย จะตัดโมเลกุลหนึ่งออกจากสายไกลโคเจน โมเลกุลนั้นจะอยู่ในรูปของ glucose 1-phosphate ที่ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็น G6P ด้วย phosphoglucomutase ต่อมาหมู่ฟอสฟอริล (phosphoryl group) บน G6P จะถูกดึงออกด้วย glucose 6-phosphatase เกิดเป็นกลูโคสอิสระที่ซึ่งจะสามารถส่งออกนอกเซลล์เข้าไปในกระแสเลือดได้ต่อไป

แหล่งที่มา

WikiPedia: กลูโคส 6-ฟอสเฟต http://www.chemspider.com/17216117 http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... http://www.nlm.nih.gov/cgi/mesh/2007/MB_cgi?mode=&... http://www.genome.jp/dbget-bin/www_bget?compound+C... http://www.genome.jp/dbget-bin/www_bget?compound+C... http://www.genome.jp/dbget-bin/www_bget?enzyme+2.7... http://www.genome.jp/dbget-bin/www_bget?rn+R01786 http://www.ebi.ac.uk/chebi/searchId.do?chebiId=CHE... https://archive.org/details/biochemistrychap00jere